ประวัติความเป็นมา จังหวัดสตูล

  • จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูว่า สโตย แปลว่ากระท้อนซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (มาเลย์: Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวาดังนั้น “ตราพระสมุทรเทวา” จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ตราประจำจังหวัด

เีั

เพ

—————————————————————————————————————————————————————————

ประวัติ

  • ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สตูลเป็นเพียงตำบลหนึ่งในเขตเมืองไทรบุรี ประวัติความเป็นมาของเมืองสตูลจึงเกี่ยวข้องกับไทรบุรี ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า “ตามเนื้อความที่ปรากฏดังกล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นว่าในเวลานั้น พวกเมืองไทรเห็นจะแยกกันเป็นสองพวกคือ พวกเจ้าพระยาไทรปะแงรันพวกหนึ่ง และพระยาอภัยนุราชคงจะนบน้อมฝากตัวกับเมืองนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะเมื่อพระยาอภัยนุราชได้มาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสตูล ซึ่งเขตแดนติดต่อกับนครศรีธรรมราชมากกว่าเมืองไทร แต่พระยาอภัยนุราชว่าราชการเมืองสตูลได้สองปีก็ถึงแก่อนิจกรรม ผู้ใดจะได้ว่าราชการเมืองสตูลต่อมาในชั้นนั้นหาพบจดหมายเหตุไม่ แต่พิเคราะห์ความตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เข้าใจว่าเชื้อพระวงศ์ของพระอภัยนุราช (ปัศนู) คงจะได้ว่าราชการเมืองสตูล และฟังบังคับบัญชาสนิทสนมกับเมืองนครศรีธรรมราชอย่างครั้งพระยาอภัยนุราช หรือยิ่งกว่านั้น”
  • เรื่องเกี่ยวกับเมืองสตูลนั้นยังปรากฏในหนังสือพงศาวดารเมืองสงขลา แต่ข้อความที่ปรากฏบางตอนเกี่ยวกับชื่อผู้ว่าราชการเมืองสตูล ไม่ตรงกับในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประวัติเกี่ยวกับเมืองสตูลในการจัดรูปแบบการปกครองเมืองตามระบอบมณฑลเทศาภิบาลกล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไทรบุรีรามภักดี เจ้าพระยาไทรบุรี (อับดุลฮามิต) เป็นข้าราชการเทศาภิบาลมณฑลไทรบุรี โดยเมืองสตูลได้แยกออกจากไทรบุรีอย่างเด็ดขาดตามหนังสือสัญญาไทยกับอังกฤษ เรื่องการปักปันดินแดนนะหว่างไทยกับสหพันธรัฐมลายู ซึ่งลงนามกันที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ร.ศ. 127 (พ.ศ. 2452) จากหนังสือสัญญานี้ยังส่งผลให้เมืองไทรบุรีและเมืองปะลิสตกเป็นของอังกฤษ ส่วนเมืองสตูลยังคงเป็นของไทยมาจนถึงปัจจุบันเมื่อปักปันดินแดนเสร็จแล้ว ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เมืองสตูลเป็นเมืองจัตวารวมอยู่ในมณฑลภูเก็ต เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ร.ศ. 128 (พ.ศ. 2453)ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เมืองสตูลก็มีฐานะยกเป็นจังหวัดหนึ่งในราชอาณาจักรไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

—————————————————————————————————————————————————————————

สภาพทางภูมิศาสตร์

ขนาดและที่ตั้ง

  • จังหวัดสตูลเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทยทางชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นชายฝั่งทะเลทางด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 6 องศา 4 ลิปดา ถึง 7 องศา 2 ลิปดาเหนือ กับเส้นแวงที่ 99 องศา 5 ลิปดา ถึง 100 องศา 3 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 2,478.997 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,549,361 ไร่ เป็นลำดับที่ 63 ของประเทศ และลำดับที่ 12 ของภาคใต้ รองลงมาคือ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดภูเก็ต มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดตรังทางทิศเหนือ จังหวัดสงขลาทางทิศตะวันออก และรัฐปะลิส ประเทศมาเลเซียตลอดแนวชายแดน (ทางทิศใต้) ยาวประมาณ 56 กิโลเมตร ติดต่อฝั่งอันดามันยาวประมาณ 144.8 กิโลเมตร เป็นพื้นที่เกาะประมาณ 88 เกาะ

ภูมิประเทศ

  • พื้นที่จังหวัดสตูลทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นเนินเขาและภูเขาสลับซับซ้อน โดยมีทิวเขาที่สำคัญแบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย คือ ทิวเขาบรรทัดและทิวเขาสันกาลาคีรี พื้นที่ของจังหวัดค่อย ๆ ลาดเอียงลงสู่ทะเลด้านทิศตะวันตกและทิศใต้ โดยยังมีภูเขาน้อยใหญ่อยู่กระจัดกระจายในตอนล่าง ภูเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาจีน เขาบารัง เขาใหญ่ เขาทะนาน และเขาพญาวัง และมีที่ราบแคบ ๆ ขนานไปกับชายฝั่งทะเล ถัดจากที่ราบลงไปเป็นพื้นที่ป่าชายเลนน้ำเค็มขึ้นถึง อุดมไปด้วยป่าแสมและป่าโกงกาง สตูลเป็นจังหวัดที่ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน คงมีแต่ลำน้ำสั้น ๆ ต้นน้ำเกิดจากภูเขาทางทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัด

—————————————————————————————————————————————————————————

ภูมิอากาศ

  • พื้นที่จังหวัดสตูลได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ
  1. ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.6-39.5 องศาเซลเซียส
  2. ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 21.9-38.8 องศาเซลเซียส
  • ระหว่างปี พ.ศ. 2543-2547 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,318 มิลลิเมตร ตกชุกที่สุดในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.72 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ย 23.51 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดวัดได้ 38.4 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2545 และอุณหภูมิต่ำสุดวัดได้ 19.2 องศาเซลเซียส เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545

—————————————————————————————————————————————————————————

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 7 อำเภอ 36 ตำบล 257 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองสตูล ด้
  2. อำเภอควนโดน
  3. อำเภอควนกาหลง
  4. อำเภอท่าแพ
  5. อำเภอละงู
  6. อำเภอทุ่งหว้า
  7. อำเภอมะนัง

—————————————————————————————————————————————————————————

ประชากร

  • ในจังหวัดประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ในจำนวนนี้มีประชากรร้อยละ 9.9 อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากชาวมลายู โดยชาวไทยเชื้อสายมลายูในสตูลมีความแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในแถบ ปัตตานี แต่จะมีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับชาวมาเลย์ในรัฐเกดะห์ (ไทรบุรี) และได้รับการผสมผสานกับอิทธิพลของวัฒนธรรมไทยชาวสตูลที่มีเชื้อสายมลายูแต่เดิมใช้ภาษามลายูเกดะห์ ในการสื่อสาร แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้เช่นเดียวกับเยาวชนในตัวเมืองปัตตานีและยะลา แต่ยังเหลือประชาชนที่ยังใช้ภาษามลายูถิ่นได้ใน 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง, ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิดนอกนั้นในชีวิตประจำวันชาวสตูลนิยมพูดภาษาไทยมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากชาวไทยเชื้อสายมลายูในจังหวัดปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส ที่ร้อยละ 80 ยังใช้ภาษามลายูได้ มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เป็นกลุ่มสังคมเมืองซึ่งพูดมลายูได้เล็กน้อยหรือพูดปนภาษาไทย
  • อย่างไรก็ตามอิทธิพลทางด้านภาษามลายูถิ่นในจังหวัดสตูลนั้นยังมีให้เห็นทั่วไป เช่น เกาะตะรุเตา (มาจากคำว่า ตะโละเตา แปลว่า อ่าวเก่าแก่), อ่าวพันเตมะละกา (แปลว่า ชายหาดที่มีชาวมะละกา), อุทยานแห่งชาติทะเลบัน (มาจากคำว่า ลาอุตเรอบัน แปลว่า ทะเลยุบ) เป็นต้น แต่หลายพื้นที่ได้เปลี่ยนแปลงชื่อให้เป็นภาษาไทยไป เช่น อำเภอสุไหงอุเป (มีความหมายว่า คลองกาบหมาก) ได้เปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอทุ่งหว้า, บ้านปาดังกะจิ เปลี่ยนเป็น บ้านทุ่งนุ้ย, บ้านสุไหงกอแระ เปลี่ยนเป็น บ้านคลองขุด เป็นอาทิ
  • ในปี พ.ศ. 2554 จังหวัดสตูลได้มีการนำหลักสูตรสอนภาษามลายูกลางใน 7 โรงเรียนคือ โรงเรียนบ้านควน, โรงเรียนบ้านเจ๊ะบิลัง, โรงเรียนบ้านทุ่งมะปรัง, โรงเรียนบ้านแป-ระเหนือ, โรงเรียนบ้านสนกลาง, โรงเรียนบ้านปากบารา และโรงเรียนบ้านปากละงู ซึ่งในโรงเรียนบ้านควนมีผลการจัดการสอนที่น่าพึงใจ นักเรียนสามารถใช้ภาษามลายูกลางกับนักเรียนแลกเปลี่ยนชาวมาเลเซียได้ และนำไปสู่การประเมินผล และขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ[12]
  • แม้ว่าในอดีตสตูลจะอยู่ภายใต้อิทธิพลของสุลต่านแห่งไทรบุรี แต่ก็มีความสัมพันธ์อันดีกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ รวมไปถึงเหตุผลด้านภูมิศาสตร์สตูลจึงนิยมติดต่อกับสงขลามากกว่าไทรบุรี ทำให้ได้รับอิทธิพลทางประเพณีและวิถีชีวิตอย่างสูงจากสงขลา[10] ชาวไทยเชื้อสายมลายูมุสลิมได้แต่งงานข้ามกันกับชาวไทยพุทธโดยไม่มีความตรึงเครียดทางศาสนา ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มสังคมที่เรียกว่า ซัมซัม (มาเลย์: Samsam) และพวกเขาก็มิได้เป็นมุสลิมเสมอไป
  • จังหวัดสตูลไม่เหมือนจังหวัดมุสลิมอื่นในไทย เนื่องจากไม่มีประวัติศาสตร์การเผชิญหน้ากับศูนย์กลางการปกครองในกรุงเทพมหา นครหรือความตรึงเครียดระหว่างชาวไทยพุทธ ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทย

—————————————————————————————————————————————————————————

ข่าวประชาสัมพันธ์

งานประจำปีและงานกาชาด จังหวัดสตูล ประจำปี 2556
49-24-1-56

งานแฟร์ และเทศกาล,ช้อปปิ้ง

1 มีนาคม 2556 – 10 มีนาคม 2556

ข้อมูลการติดต่อ ททท. สำนักงานตรัง

199/2  ถ.วิเศษกุล ต.ทับเที่ยง อ.เมืองฯ จ.ตรัง

Tel. 0 7521 5867, 0 7521 1058, 0 7521 1085

สอบถามข้อมูลและขอรายละเอียดเพิ่มเติม

ขอเชิญเที่ยว “งานประจำปีและงานกาชาด จังหวัดสตูล ประจำปี 2556″ ในวันที่ 1-10 มีนาคม 2556 บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล พบกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่

* การออกร้านกาชาดจากเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล

* ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์

* การจำหน่ายสินค้าราคาถูกจากทั่วทุกภาคทั่วประเทศ

* การละเล่น สวนสนุก ตลอดการจัดงาน

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ จังหวัดสตูล โทร. 0 7471 1373 หรือติดต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง

————————————————————————————————————————————————–

มหกรรมว่าวประเพณีจังหวัดสตูล ครั้งที่ 33 และแสดงว่าวนานาชาติ 2556
มหกรรมว่าวประเพณีจังหวัดสตูล ครั้งที่ 33 และแสดงว่าวนานาชาติ 2556

ท่องเที่ยว ไลฟ์สไตล์,งานแฟร์ และเทศกาล

1 มีนาคม 2556 – 3 มีนาคม 2556

ข้อมูลการติดต่อ ททท. สำนักงานตรัง

199/2 ถ.วิเศษกุล ต.ทับเที่ยง อ.เมืองฯ จ.ตรัง

Tel. 0 7521 5867, 0 7521 1058, 0 7521 1085

สอบถามข้อมูลและขอรายละเอียดเพิ่มเติม

ขอเชิญเข้าร่วมงาน “มหกรรมว่าวประเพณีจังหวัดสตูล ครั้งที่ 33 และแสดงว่าวนานาชาติ 2556” ในวันที่ 1-3 มีนาคม 2556 ณ สนามบินจังหวัดสตูล อ.เมือง พบกับกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่

* การแข่งขันว่าว การแสดงว่าวไทยและนานาชาติกว่า 10 ประเทศ

* การแสดงศิลปวัฒนธรรม แสง สี เสียง

* การแข่งขันว่าวประเภทสวยงาม เสียงดัง ขึ้นสูง และสาธิตการทำว่าว

* การประกวดมิสสตูล

* นิทรรศการว่าวไทย

* สุดยอดอาหาร เทศกาลอาหารสยามอันดามัน

* ร่วมทำลายสถิติโลก ขึ้นว่าวเดี่ยวพร้อมกัน 8,000 ตัว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด สตูล โทร. 0 7472 2139, สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดสตูล โทร. 0 7471 1225 หรือติดต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง

————————————————————————————————————————————————–

การแข่งขันวิ่งผลัดอ่าวไทยสู่อันอามัน (Thai Gulf to Andaman Relay Run Songkhla-Satun)
fyu

แข่งวิ่งและเดิน

1 มีนาคม 2556 – 31 มีนาคม 2556

ข้อมูลการติดต่อ ททท. สำนักงานตรัง

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสตูล  โทร.0 7471 1225 สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสงขลา โทร. 0 7431 3195 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล โทร.0 7471 1273

Tel. +66 7521 5867, +66 7521 1058 , +66 7521 1085

สอบถามข้อมูลและขอรายละเอียดเพิ่มเติม

การแข่งขันวิ่งผลัดทีมละ 8 คน ชิงเงินรางวัล พร้อมถ้วยรางวัล และเสื้อสามารถ

-แบ่งการแข่งขันเป็น 7 ประเภท

-เริ่มต้นจากหาดสมิหลา จ.สงขลา และเข้าเส้นชัย ณ จุดชมวิวหาดปากบารา  ระยะทาง 157.3 กม.

————————————————————————————————————————————————–

มรกตอันดามัน มหัศจรรย์อาหารอร่อย ของดีที่ละงู ครั้งที่ 7 ประจำปี 2556
18-e1359345592909

อาหารและเครื่องดื่ม,งานแฟร์ และเทศกาล,ช้อปปิ้ง

11 กุมภาพันธ์ 2556 – 17 กุมภาพันธ์ 2556

ข้อมูลการติดต่อ ททท. สำนักงานตรัง

199/2 ถ.วิเศษกุล ต.ทับเที่ยง อ.เมืองฯ จ.ตรัง

Tel. 0 7521 5867, 0 7521 1058, 0 7521 1085

สอบถามข้อมูลและขอรายละเอียดเพิ่มเติม

ขอเชิญเที่ยวงาน “มรกตอันดามัน มหัศจรรย์อาหารอร่อย ของดีที่ละงู ครั้งที่ 7 ประจำปี 2556” ในวันที่ 11-17 กุมภาพันธ์ 2556 ณสนามกีฬาตรงข้ามสำนักงานเทศบาลตำบลกำแพง และลานกีฬาอเนกประสงค์ เทศบาลตำบลกำแพง พบกับกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่

* การแสดงแสง สี เสียง

* การจำหน่ายอาหารดี เมืองละงู สด/สะอาด/อร่อย หลากหลายเมนู

* การจำหน่ายสินค้า OTOP

* การแสดงศิลปวัฒนธรรม

* กิจกรรมการวิ่งเพื่อสุขภาพ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลตำบลกำแพง โทร. 0 7428 1382, องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล โทร. 0 7471 1273 หรือติดต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานตรัง

————————————————————————————————————————————————–